ดาวน์โหลดคู่มือ
วิธีการและขั้นตอนการใช้โปรแกรม
******************************************
การบันทึกข้อมูล
1.สำนักวัณโรคได้แจก Username และ Password ไปยังโรงพยาบาลทุกแห่งโดยตรง พร้อมทั้งแจก Username และ Password ของโรงพยาบาลในพื้นที่รับผิดชอบของจังหวัด และสคร. เพื่อสำรองในการช่วยประสานงานแจกจ่ายหากเกิดปัญหา |
2. เมื่อหน่วยงานหรือโรงพยาบาลได้รับ Username และ Password ที่ส่งมาพร้อมนี้แล้ว ให้เข้าสู่ระบบได้ที่ https://www.tbthailand.org/SMPTB/ หรือใน Website สำนักวัณโรค www.tbthailand.org ดังรูป |
|
และเข้าสู่ระบบ |
|
3. เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้วจะพบรายชื่อโรงพยาบาลหรือหน่วยงานของท่าน สามาถเข้าไปบันทึกรายงานหรือแก้ไขข้อมูลต่างๆ ได้ โดยสคร.และจังหวัดจะมองเห็นข้อมูลของโรงพยาบาล หรือหน่วยในเขตพื้นที่รับผิดชอบของท่าน และสามารถแก้ไขข้อมูลได้ โดยการกด Edit ดังรูป |
|
3.1 ส่วนที่ 1 ข้อมูลผู้รายงาน ในส่วนนี้ให้ลงชื่อ-สกุล ตำแหน่ง กลุ่มงาน Email และเบอร์โทรศัพท์ของผู้รายงาน ให้ครบถ้วน
|
3.2 ส่วนที่ 2 ข้อมูลโรงพยาบาล/หน่วยงานสาธารณสุข ข้อมูลในส่วนนี้จะขึ้นอัตโนมัติ เขต/จังหวัด หรือรพ. ไม่สามารถแก้ไขได้ ใช้ในกรณีที่ รพ.เกิดใหม่ จะลิงค์ไปที่ สปสช.เพื่อตรวจสอบว่ามีโรงบาลนั้นจริงหรือไม่ |
|
3.3.1 รายงานจำนวนบุคลากรของโรงพยาบาลหรือหน่วยงานทั้งหมด
|
3.3.2 จำนวนบุคลากรที่ได้คัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรค ซึ่งจะต้องจำแนกด้วย
|
- - การคัดกรองด้วยเอกซเรย์ทรวงอก (CXR) ว่ามีการเอกซเรย์ทรวงอกทั้งหมดกี่ราย ผลเป็นอย่างไร ผิดปกติที่เข้าได้กับวัณโรคจำนวนกี่ราย หรือผิดปกติอื่นๆจำนวนกี่ราย
|
- - การคัดกรองทางห้องปฏิบัติการ (LAB) ดังนี้
- ด้วย AFB ทั้งหมดกี่ราย และพบเชื้อกี่ราย
- ด้วย Culture ทั้งหมดกี่ราย และพบเชื้อกี่ราย
- ด้วย Gene Xpert ทั้งหมดกี่ราย MTB Detected กี่ราย และ R Resistance กี่ราย
|
3.3.3 จำนวนบุคลากรที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรคมีจำนวนกี่ราย บันทึกเรียบร้อยแล้วให้กด Submit เป็นอันว่าสิ้นสุดการบันทึกข้อมูล |
** หากหน่วยงานหรือโรงพยาบาลไหนมีจำนวนบุคลากรที่ป่วยเป็นวัณโรค
ต้องมาจำแนกบุคลากรที่ป่วยเป็นวัณโรคแต่ละราย ดังนี้
- *ตำแหน่งหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน
- *แผนกที่ปฏิบัตงาน
- *เพศ
- *อายุ
- *อายุงานที่ปฏิบัติในหน่วยงานนี้
โดยเข้าไปที่ บุคลากรที่แพทย์วินิจฉัยเป็น TB
และคลิกที่ +เพิ่มบุคลากรที่แพทย์วินิจฉัยเป็น TB
แล้วเข้าไปบันทึกข้อมูลแต่ละรายให้ครบกับจำนวนที่รายงานว่าป่วยเป็นวัณโรค โดยคลิกไปที่
บันทึกเรียบร้อยแล้วให้กด Submit เป็นอันว่าสิ้นสุดการบันทึกข้อมูล
การตรวจสอบข้อมูลรายงานผล
สามารถดูรายงานได้จากหน้า report โปรแกรมจะแสดงจำนวนโรงพยาบาลในเขตพื้นที่รับผิดชอบ
จำนวนบุคลกรทั้งหมด จำนวนบุคลากรที่ได้รับการคัดกรองเพื่อค้นหาวัณโรค ด้วยการเอกซเรย์ทรวงอก (CXR) ทางห้องปฏิบัติการ (LAB) AFB, Culture, Gene Xpert และจำนวนบุคลากรที่วินิจฉัยว่าป่วยเป็นวัณโรค โดยจำแนกตามพื้นที่จังหวัด และสคร. สคร. และจังหวัด/สคร.
สามารถดูข้อมูลรายบุคลากรที่ป่วยเป็นวัณโรคได้ โดยคลิกไปที่จำนวนบุคลากรที่แพทย์วินิจฉัยเป็นวัณโรคได้ |
|
|
******************************************************
หากมีข้อสงสัยในการใช้งานโปรแกรม สามารถติดต่อได้ที่สำนักวัณโรค
ดาวน์โหลดคู่มือ