“ อดีต..สู่..ปัจจุบัน
        จากยศเส...ถึง บางโคล่”

     "งานต่อต้านวัณโรค" พระราชกรณียกิจสืบเนื่องของสมเด็จพระบรมราชชนก และพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช

      ปี พ.ศ.2463 สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก พระองค์ ทรงเรียบเรียงบทความเรื่อง “โรคทุเบอร์คุโลสิส” ประทานให้กรมสาธารณสุขพิมพ์เป็นเอกสารสุขศึกษาและทรงชี้แนะ หลักการเชิงนโยบายและความสำคัญ ว่า

“ท่านผู้ใดอุตสาห์เสียเวลาอ่านหนังสือฉบับนี้มาจนถึงที่นี้ก็คงจะเห็นด้วยว่า เราควรจะกำจัดโรคอันร้ายนี้เสีย เพราะเป็นโรคร้ายสำหรับบ้านเมือง โดยมากมักจะเป็นแก่เด็กเล็กๆ ที่กำลังน่าเอ็นดู หรือไมก็กำลังเป็นหนุ่มเป็นสาว เอางานเอาการ เป็นข้าศึกที่ตัดกำลังราษฎรของเรามาก ถ้าท่านมีน้ำใจจะช่วยแล้วขอให้ลงมือช่วยทันที”


สมเด็จพระมหิตลาธิเบศอดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก ขณะที่พระองค์ทรงงานเป็นแพทย์ประจำโรงพยาบาลแม็คคอร์มิค เชียงใหม่ เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ.2472 ทรงมีพระราชหัตถเลขามายังหลวงนิตย์เวชวิศิษฐ์

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2488
     ได้มีการเปลี่ยนกรมสาธารณสุขเป็น กระทรวงสาธารณสุข และโอนงาน “โรงพยาบาลวัณโรคกลาง” เป็น “กองโรงพยาบาลวัณโรค” สังกัดกรมการแพทย์ ในช่วงนี้ปัญหาเตียงไม่พอรับ ผู้ป่วยยังมีอยู่ ทั้งนี้รวมทั้งพระภิกษุและสามเณรที่อาพาธแต่ไม่มีที่พัก ปัญหาเหล่านี้ได้ทรงทราบถึงพระเนตรพระกรรณของ พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลฯ ซึ่งขณะนั้นพระองค์ท่านประทับอยู่ในประเทศไทย จึงมีรับสั่งให้ราชเลขานุการในพระองค์สั่งจ่ายพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จำนวน 250,258 บาท 94 สตางค์ เพื่อขยายกิจการเพิ่มเติมในการก่อสร้างเมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2489
4 พฤษภาคม 2489
     พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ “ยามเย็น” ซึ่งเป็นเพลงที่สองที่ทรงพระราชนิพนธ์ แต่เป็นเพลงแรกที่ให้วงดนตรีนำไปบรรเลงในงานแสดงดนตรีการกุศล เพื่อหารายได้สมทบทุนช่วยเหลือโครงการรณรงค์ต่อต้านวัณโรคแห่งชาติ ของสมาคมปราบวัณโรคแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อมกับพระราชทานแบบจำลองเรือรบหลวงศรีอยุธยา ซึ่งเป็นผลงานฝีพระหัตถ์ออกประมูลในงานเดียวกัน เพื่อสมทบทุนในการต่อต้านโรคร้ายดังกล่าว
ปี พ.ศ.2493
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงบริจาคทรัพย์ส่วนพระองค์สร้างตึกมหิดลวงศานุสรณ์ พระราชทานให้สภากาชาดไทย เพื่อใช้เป็นห้องปฏิบัติการผลิตวัคซีนป้องกันวัณโรค และขณะที่เสด็จฯไปประทับที่สวิสเซอร์แลนด์ พระบาทสมเด็จประเจ้าอยู่หัว ได้ทรงแสวงหาตัวยาใหม่ๆ เพื่อใช้รักษาผู้ป่วยวัณโรค

     ก่อตั้งสมาคมกองการปราบปรามวัณโรค

     27 กรกฎาคม พ.ศ.2478 ก่อตั้งสมาคมกองการปราบปรามวัณโรค ของแพทย์สมาคมแห่งกรุงสยาม(ปัจจุบันคือสมาคมปราบวัณโรคฯ) ณ สถานีอนามัยที่หนึ่งถนนบำรุงเมือง จังหวัดพระนคร เป็นสถานตรวจและรักษาวัณโรค

     ปี พ.ศ.2484 กรมสาธารณสุข กระทรวงมหาดไทย ได้เปิดโรงพยาบาลวัณโรคกลางขึ้นที่ตำบลบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี และได้มีการย้ายไปสังกัดกรมการแพทย์ หลังจากมีการตั้งกระทรวงสาธารณสุขในปี พ.ศ. 2485

     ก่อตั้งงานควบคุมวัณโรค โดยเปิดสถานตรวจโรคปอด

นายแพทย์สมบุญ ผ่องอักษร
เป็นผู้อำนวยการคนแรก

23 ธันวาคม พ.ศ.2492
หลวงพยุงเวชศาสตร์ อธิบดีกรมอนามัย (เดิมชื่อกรมสาธารณสุข) ได้ก่อตั้งงานควบคุมวัณโรค โดยเปิดสถานตรวจโรคปอดขึ้น โดยเช่าอาคารสถานีอนามัยที่หนึ่ง ของสภากาชาดไทย ที่ถนนบำรุงเมือง ยศเส (สถานที่เดิมของสมาคมปราบวัณโรคของแพทย์สมาคม) เป็นหน่วยงานขึ้นกับกองควบคุมโรคติดต่อ กรมอนา

สถานตรวจโรคปอดยศเส จัดตั้งขึ้นครั้งแรก เพื่อให้บริการ
- ตรวจปอดด้วยเครื่องเอกซเรย์ทรวงอก โดยใช้ฟิล์มเล็ก (Photo-fluorographic unit for mass miniature radiography) เป็นเครื่องแรกในประเทศไทย
- รักษาวัณโรคด้วยยาแบบผู้ป่วยนอก
- ให้การป้องกันผู้สัมผัสโรค
- ให้สุขศึกษาแก่ประชาชนทั่วไป


ปี พ.ศ.2494
     ได้รับการช่วยเหลือจาก WHO ในด้านผู้เชี่ยวชาญและทุนการศึกษา และ UNICEF ได้ช่วยเหลือด้านอุปกรณ์เวชภัณฑ์ยกฐานะสถานตรวจโรคปอดขึ้นเป็นกองควบคุมวัณโรค โดยดำเนินการประสานงานกับโรงพยาบาลวัณโรคกลาง จังหวัดนนทบุรี มีขนาดไม่เกิน 75 เตียง ซึ่งโอนจากกรมการแพทย์มาอยู่กรมอนามัยต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นกองโรงพยาบาลวัณโรค ในปีเดียวกัน

ปี พ.ศ.2494-2497
- ได้รับการช่วยเหลือจาก WHO และ กองทุนสงเคราะห์แห่งสหประชาชาติ
- พัฒนาสถานตรวจโรคปอด (ต่อมาเรียกชื่อว่า สถานตรวจโรคปอดยศเส) ให้เป็นศูนย์สาธิต ฝึกอบรมแพทย์ พยาบาล พนักงานชันสูตร พนักงานอนามัย
- มีหน่วยฉีดวัคซีนบีซีจีเคลื่อนที่ไปตามจังหวัดต่างๆ มุ่งฉีดให้เด็กนักเรียนตั้งแต่ปี พ.ศ.2496

ปี พ.ศ. 2503-2507
การสำรวจวัณโรคด้านระบาดวิทยาครั้งแรก

ปี พ.ศ. 2507
องค์การอนามัยโลก (WHO) เสนอให้มีการดำเนินงานในรูปแบบของ แผนงานวัณโรคแห่งชาติ (National Tuberculosis Programme หรือ NTP)

     การขยายงานไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยตั้งศูนย์วัณโรคในภาคต่างๆ

 

การขยายงานไปสู่ส่วนภูมิภาค โดยตั้งศูนย์วัณโรคในภาคต่างๆดังนี้

ปี พ.ศ.2502 ตั้งศูนย์วัณโรคภาคเหนือ ณ จังหวัดเชียงใหม่
ปี พ.ศ.2506 ตั้งศูนย์วัณโรคภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ จังหวัดขอนแก่น
ปี พ.ศ.2509 ตั้งศูนย์วัณโรคภาคใต้ ณ จังหวัดยะลา
ปี พ.ศ.2510 ตั้งศูนย์วัณโรคเขต จังหวัดนครราชสีมา
ปี พ.ศ.2511 ตั้งศูนย์วัณโรคเขต จังหวัดอุบลราชธานี
ปี พ.ศ.2512 ตั้งศูนย์วัณโรคเขต จังหวัดสกลนคร
ปี พ.ศ.2512 ตั้งศูนย์วัณโรคเขต จังหวัดชลบุรี
ปี พ.ศ.2513 ตั้งศูนย์วัณโรคเขต จังหวัดพิษณุโลก
ปี พ.ศ.2514 ตั้งศูนย์วัณโรคเขต จังหวัดนครศรีธรรมราช
ปี พ.ศ.2514 ตั้งศูนย์วัณโรคเขต จังหวัดนครสวรรค์
ปี พ.ศ.2519 ตั้งศูนย์วัณโรคเขต จังหวัดสระบุรี
ปี พ.ศ.2534 ตั้งศูนย์วัณโรคเขต จังหวัดราชบุรี

การปรับปรุงส่วนราชการของกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 1
ปี พ.ศ.2515 มีการรวมกรมการแพทย์และกรมอนามัย เข้าด้วยกัน ตั้งเป็น กรมการแพทย์และอนามัย
ปี พ.ศ.2515 กองควบคุมวัณโรค ได้เปลี่ยนชื่อเป็น กองวัณโรค

การปรับปรุงส่วนราชการของกระทรวงสาธารณสุข ครั้งที่ 2
ปี พ.ศ.2517
- กองวัณโรค เปลี่ยนไปสังกัด กรมควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งตั้งขึ้นใหม่เป็นกรมวิชาการ
- สถานตรวจโรคปอดยศเส ให้ใช้ชื่อเป็น สถานตรวจโรคปอดกรุงเทพฯ
- โอนศูนย์วัณโรคเขตทั้ง 12 เขต ไปสังกัดสำนักงานป้องกันควบคุมโรคติดต่อเขต กรมควบคุมโรคติดต่อ

ปี พ.ศ.2528 กรมควบคุมโรคติดต่อ มอบหมายงานควบคุมโรคติดต่อเฉียบพลันระบบทางเดินหายใจเด็ก ให้กองวัณโรคเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการ
ปี พ.ศ.2538 มีการทบทวนแผนงานวัณโรค และองค์การอนามัยโลกได้เสนอให้นำเอากลยุทธ์การรักษาวัณโรคด้วยยาระยะสั้นภายใต้การสังเกตโดยตรง (Directly Observed Treatment Short courseหรือ DOTS) มาใช้

19 มีนาคม พ.ศ.2510 ได้รับบริจาคที่ดินจาก ร้อยตรีเจริญ ดารานนท์ จำนวน 19 ไร่ 1 งาน 50 ตารางวา
26 มีนาคม พ.ศ.2511 ขึ้นทะเบียนเป็นที่ราชพัสดุ กรมธนารักษ์
24 กันยายน 2537 วางศิลาฤกษ์
25 กันยายน 2537 เริ่มก่อสร้าง
15 สิงหาคม 2539 ก่อสร้างแล้วเสร็จ

     สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานเปิด อาคารใหม่กองวัณโรค

วันที่ 20 มิถุนายน 2543 ได้ทำพิธีเปิดอย่างเป็นทางการ โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี เป็นองค์ประธานเปิด อาคารใหม่กองวัณโรค
ปี พ.ศ. 2544 จากการปฏิรูประบบสาธารณสุข มีการจัดโครงสร้างของกระทรวง กองวัณโรค รวมเข้ากับกองโรคเอดส์และกองกามโรค เป็น สำนักโรคเอดส์ วัณโรคและโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ส่วนงาน ARIC ไปรวมอยู่ใน สำนักโรคติดต่อทั่วไป
ปี พ.ศ.2550 แยกออกมาเป็นสำนักวัณโรค จนถึงปัจจุบัน

     อดีต..สู่..ปัจจุบัน จากยศเส...ถึง บางโคล่

 
 
 
 

 

 

สงวนลิขสิทธิ์ 2560 กองวัณโรค กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

กองวัณโรค เลขที่ 116 ถนนสุดประเสริฐ (ฝั่งขวา) แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม. 10120

โทรศัพท์ : 02-212-2279 แฟกซ์ : 02-212-1408